บัญชีสำหรับธุรกิจ START UP น้องใหม่
ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ธุรกิจ Startup นั้น เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่แตกต่างจากกิจการทั่วไป เพราะโดยส่วนใหญ่ธุรกิจ Startup จะมีการระดมทุนเป็นรอบ ๆ ระดมทุนโดยที่ยังไม่มีกำไร ตัวชี้วัดในช่วงแรก เป็นจำนวนผู้บริโภคที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา
1. งบแสดงฐานะทางการเงิน คือ งบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัท ส่วนประกอบของงบประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อเรานำสินทรัพย์มาหักออกด้วยหนี้สินทั้งหมด ก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนทุนนั่นเอง งบที่ดีควรมีส่วนทุนเป็นบวก คือมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน และควรมีทุนสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. งบกำไร-ขาดทุน เมื่อทำธุรกิจแล้วก็ต้องมี “กำไร” หากทำแล้วไม่มีกำไร ก็เหมือนเป็นองค์กรการกุศล Startup ควรรู้จักกับงบกำไร-ขาดทุน คือ ขายของแล้วหักลบต้นทุนก็คือกำไร ส่วนประกอบของงบกำไร-ขาดทุน ได้แก่ รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย (บริหาร) ต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย ต้นทุนภาษี ค่าเสื่อมราคา... คือ นำเอารายได้มาหักลบออกจากต้นทุนทั้งหมด หากเป็นบวก = มีกำไร
3. งบกระแสเงินสด กระแสเงินสดเปรียบเหมือน เลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย (กิจการ) ให้หล่อเลี้ยงและดำรงอยู่ กิจการใดทำแล้วไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสด หรือกระแสเงินสดติดลบจะถือว่าเป็นอันตราย กระแสเงินสดมี 3 แบบ ได้แก่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน-คือกระแสเงินสดที่นำรายได้หักลบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน-คือกระแสเงินสดที่ได้จากเงินที่ไม่ใช่การขายสินค้า หรือจากเงินกู้ และกระแสเงินสดจากการลงทุน-คือกระแสเงินสดที่นำเงินที่ได้มาไปลงทุนต่อยอด สำหรับ Startup กระแสเงินสดนั้นก็เหมือนเงินที่ไหลเวียนเข้า-ออกสู่ธุรกิจนั่นเอง
4. รู้จักการจัดการเรื่องภาษี ต้นทุนแฝงที่แสนสำคัญของการทำธุรกิจก็คือ “ต้นทุนภาษี” หากนักธุรกิจ Startup รู้จักการจัดการเรื่องภาษีจะช่วยลดต้นทุนในเรื่องเหล่านี้ได้มากมายทีเดียว... การลงบัญชีที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนแฝงในส่วนนี้ได้
งานบัญชีทั้ง 4 อย่างถือว่า “สำคัญมากๆ” หากคิดจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Startup อย่างมืออาชีพ การรู้เรื่องธุรกิจอย่างเดียวนั้นไม่พอ ควรรู้เรื่องบัญชีและภาษีไว้ด้วย
ที่มา : https://www.meconomics.net