SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ลูกหนี้กรรมการ และเจ้าหนี้กรรมการ

09 กุมภาพันธ์ 2564
ลูกหนี้กรรมการ และเจ้าหนี้กรรมการ

ลูกหนี้กรรมการ และเจ้าหนี้กรรมการ

คุณเคยสังเกตในงบการเงินของกิจการคุณเองไหม ว่ามีบัญชีที่ชื่อ “ลูกหนี้กรรมการ” หรือ “เจ้าหนี้กรรมการ” หรือเปล่า ซึ่งหากมี เจ้าของกิจการต้องทำให้หมวดบัญชีนี้ลดลง เพราะเป็นบัญชีที่สรรพากรเพ่งเล็ง อาจทำให้กิจการมีความเสี่ยงในการโดนตรวจสอบได้


เรามาดูกันว่าบัญชี 2 บัญชีนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีที่ทำให้ลดลงอย่างไรบ้าง


ลูกหนี้กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ คือ กรรมการได้มีการเบิกเงินบริษัทไปใช้ ทำให้เป็นลูกหนี้ของกิจการ และถ้าคุณมีลูกหนี้กรรมการ กรมสรรพากรกำหนดให้มีการคิดดอกเบี้ย ดังนี้

  1. เท่าดอกเบี้ยเงินฝาก
  2. เท่าดอกเบี้ยเงินกู้

กรมสรรพากรได้ 3.3% จากยอดดอกเบี้ยที่จ่าย และนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะ


สาเหตุที่เกิดลูกหนี้กรรมการ

1. ตอนจดจัดตั้งบริษัทเจ้าของกิจการไม่มีจำนวนเงินจริง เท่ากับทุนที่จดทะเบียน ทำให้เงินส่วนที่เหลือต้องอยู่ในบัญชี ลูกหนี้กรรมการ เช่น ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่มีเงินจริง 2 แสนบาท ทำให้อีก 8 แสนที่เหลือ ตกไปอยู่ในบัญชี ลูกหนี้กรรมการ

 

2. ถอนใช้ส่วนตัว คือเจ้าของกิจการดึงเงินออกมาโดยไม่ผ่านผลตอบแทนใด ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าเช่า หรือปันผล

 

3. ให้กิจการกู้แทนเจ้าของกิจการ แต่เงินที่กู้ไม่เข้ากิจการ เช่นบริษัทกู้ 30 ล้าน เอาเข้ากิจการ 10 ล้าน และเจ้าของเก็บไป 20 ล้าน ทำให้เงินในส่วนที่เจ้าของเอาไปถือเป็นลูกหนี้กรรมการ


 การแก้ปัญหาของบัญชีลูกหนี้กรรมการ

1. นำเงินสดมาคืนกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเงินสดที่นำออกไป ใช้จ่ายหมดแล้ว ทำให้ไม่สามารถนำมาคืนได้

 

2. นำสินทรัพย์ของเจ้าของมาตัดลูกหนี้กรรมการ ตัวอย่างเช่น กรรมการมีรถ 2 คัน โอนให้เป็นสินทรัพย์กิจการ จะสามารถนำมาลดบัญชีลูกหนี้กรรมการได้

 

3. ทำเรื่องคืนทุนตอนจดจัดตั้ง




เจ้าหนี้กรรมการ ถือเป็นหนี้ของกิจการ คือ กรรมการให้เงินกิจการใช้จ่าย บัญชีนี้กรมสรรพากรไม่ได้มีการกำหนดให้คิดดอกเบี้ย ซึ่งเจ้าของกิจการจะคิดหรือไม่คิดก็ได้

 

สาเหตุที่เกิดเจ้าหนี้กรรมการ เจ้าของกิจการนำลงทุน ให้กิจการก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจอพาทเม้นท์ อสังหา ลงทุนในสินทรัพย์ใหญ่ เครื่องจักรใหญ่ เช่น ทุนจดทะบียน 5 ล้านบาท เจ้าของกิจการได้มีการสร้างอพาทเม้นท์ มูลค่า 30 ล้านบาท ทำให้เงินจำนวน 25 ล้านบาทตกไปอยู่ในบัญชี เจ้าหนี้กรรมการ

 

การแก้ปัญหาของบัญชีเจ้าหนี้กรรมการ สามารถดึงเงินจากกิจการได้เลย แต่ต้องมีการจัดทำรายงานการประชุมเพื่อเป็นหลักฐานการนำเงินออกมา และเงินในส่วนนี้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษี ข้อควรระวัง อย่าดึงเกินจำนวนเงินที่เพราะอาจทำให้กลับไปเป็นในส่วนของลูกหนี้กรรมการ


บทความที่คล้ายกัน